ออนไลน์ : 10
หัวข้อ :: ยุทธศาสตร์การพัฒนาฯ
ยุทธศาสตร์
องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง
ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น1. ความสัมพันธ์ระหว่างแผนพัฒนาระดับมหภาค
1.1 แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580)
วิสัยทัศน์ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศพัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”หรือเป็นคติพจน์ประจำชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
1.ความมั่นคง
1.1 การมีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยและการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศในทุกระดับ ทั้งระดับประเทศ สังคม ชุมชน ครัวเรือน และปัจเจกบุคคล
1.2 ความมั่นคงในทุกมิติ ทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการเมือง
1.3 ประเทศมีความมั่นคงในเอกราชและอธิปไตย มีสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ที่
เข้มแข็งเป็นศูนย์กลางและเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของประชาชน
1.4 ระบบการเมืองที่มั่นคงเป็นกลไกที่นำไปสู่การบริหารประเทศที่ต่อเนื่องและโปร่งใสตามหลักธรรมาภิบาลสังคมมีความปรองดองและความสามัคคี สามารถผนึกกำลังเพื่อพัฒนาประเทศ ชุมชนมีความเข้มแข็งครอบครัวมีความอบอุ่น
1.5 มีความมั่นคงของอาหาร พลังงาน และน้ำ มีความมั่นคงในชีวิต มีงานและรายได้ที่มั่นคงพอเพียงกับการดำรงชีวิต มีที่อยู่อาศัยและความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สิน
2. ความมั่งคั่ง
2.1 ประเทศไทยมีการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องยกระดับเข้าสู่กลุ่มประเทศรายได้สูง ความเหลื่อมล้ำของการพัฒนาลดลง ประชากรได้รับผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกันมากขึ้น
2.2 เศรษฐกิจมีความสามารถในการแข่งขันสูง สามารถสร้างรายได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ สร้างฐานเศรษฐกิจและสังคมแห่งอนาคต และเป็นจุดสำคัญของการเชื่อมโยงในภูมิภาคทั้งการคมนาคมขนส่ง การผลิต การค้า การลงทุน และการทำธุรกิจ มีบทบาทสำคัญในระดับภูมิภาคและระดับโลก เกิดสายสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างมีพลัง
2.3 ความสมบูรณ์ในทุนที่จะสามารถสร้างการพัฒนาต่อเนื่อง ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญา ทุนทางการเงิน ทุนที่เป็นเครื่องมือเครื่องจักร ทุนทางสังคม และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3. ความยั่งยืน
3.1 การพัฒนาที่สามารถสร้างความเจริญ รายได้ และคุณภาพชีวิตของประชาชนให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่ไม่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติเกินพอดี ไม่สร้างมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมจนเกินความสามารถในการรองรับและเยียวยาของระบบนิเวศน์
3.2 การผลิตและการบริโภคเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับกฎระเบียบของประชาคมโลกซึ่งเป็นที่ยอมรับร่วมกัน ความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร เสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม
3.3 มุ่งประโยชน์ส่วนรวมอย่างยั่งยืน ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อการพัฒนาในทุกระดับอย่างสมดุล มีเสถียรภาพ และยั่งยืน
กรอบแนวทางที่สำคัญ 6 ยุทธศาสตร์
1.ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง
(1) การเสริมสร้างความมั่นคงของสถาบันหลักและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) การปฏิรูปกลไกการบริหารประเทศ
(3) การป้องกันและแก้ไขการก่อความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้
(4) การบริหารจัดการความมั่นคงชายแดนและชายฝั่งทะเล
(5) การพัฒนาระบบ กลไก มาตรการและความร่วมมือระหว่างประเทศทุกระดับ
(6) การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผนึกกำลังป้องกันประเทศและกองทัพ
(7) การพัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ รักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และการปกป้องรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ ทางทะเล รวมทั้งเสริมสร้างความมั่งคงทางอาหารพลังงาน และน้ำ
(8) การปรับกระบวนการทางานของกลไกที่เกี่ยวข้องจากแนวดิ่งสู่แนวระนาบมากขึ้น
2.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน
(1) การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจ ได้แก่การรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและสร้างความเชื่อมั่น การส่งเสริมการค้าและการลงทุนที่อยู่บนการแข่งขันที่เป็นธรรมและรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจนการพัฒนาประเทศสู่ความเป็นชาติการค้าเพื่อให้ได้ประโยชน์จากห่วงโซ่มูลค่าในภูมิภาค และเป็นการยกระดับไปสู่ส่วนบนของห่วงโซ่มูลค่ามากขึ้น
(2) การพัฒนาภาคการผลิตและบริการ ภาคเกษตร ได้แก่ เสริมสร้างฐานการผลิตให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร พัฒนาสินค้าเกษตรและอาการที่มีศักยภาพในการแข่งขัน และส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยให้ปรับไปสู่การทำการเกษตรยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและรวมกลุ่มเกษตรกรในการพัฒนาอาชีพที่เข้มแข็ง ภาคอุตสาหกรรม พัฒนาอุตสาหกรรมศักยภาพ ได้แก่ พัฒนาอุตสาหกรรมส่งออกที่มี ศักยภาพสูง สร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการไทย และพัฒนาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในอนาคต เป็นต้น และภาคบริการ พัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยว ผลักดันประเทศไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพ และส่งเสริมธุรกิจบริการที่มีศักยภาพ
(3) พัฒนาผู้ประกอบการและเศรษฐกิจชุมชน ได้แก่ พัฒนาทักษะและองค์ความรู้ของผู้ประกอบการไทย พัฒนาและยกระดับผลิตภาพแรงงานเพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ พัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ยกระดับศักยภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ไทยให้ก้าวไกลสู่สากล และพัฒนาวิสาหกิจชุมชนและสถาบันเกษตรกร
(4) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษและเมือง โดยพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน พัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจบริเวณชายฝั่งตะวันออก พัฒนาระบบเมืองศูนย์กลางความเจริญของประเทศ และพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมและบริการที่มีศักยภาพในการขับเคลื่อนประเทศ
(5) การลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ในด้านการขนส่ง ความมั่นคงและพลังงาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และการวิจัยและพัฒนา
(6) การเชื่อมโยงกับภูมิภาคและเศรษฐกิจโลก สร้างความเป็นหุ้นส่วนการพัฒนากับประเทศในอนุภูมิภาค ภูมิภาค และนานาประเทศ ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นฐานรากของการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมความร่วมมือกับภูมิภาคและนานาชาติในการสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน อาหาร สิ่งแวดล้อม และการบริหารจัดการภัยพิบัติ ส่งเสริมบทบาทการเป็นผู้ประสานประโยชน์ในการเชื่อมโยงและสร้างความสมดุลของความสัมพันธ์ของประเทศไทยกับกลุ่มอำนาจทางเศรษฐกิจต่างๆ เพิ่มบทบาทและการมีส่วนร่วมของไทยในองค์การระหว่างประเทศในการผลักดันการพัฒนาในอนุภูมิภาคและภูมิภาค สนับสนุนการเปิดการค้าเสรี และสร้างองค์ความรู้ด้านการต่างประเทศต่อส่วนต่างๆ และสาธารณชนไทย
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน
(1) การพัฒนาศักยภาพคนตลอดช่วงชีวิตให้สนับสนุนการเจริญเติบโตของประเทศ โดยพัฒนาเริ่มตั้งแต่ในครรภ์และต่อเนื่องตลอดช่วงชีวิต
(2) การยกระดับคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ให้มีคุณภาพ เท่าเทียม และทั่วถึง
(3) การสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี
(5) การสร้างความอยู่ดีมีสุขของครอบครัวไทยให้เอื้อต่อการพัฒนาคน
4.ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
(1) การสร้างความมั่นคงและการลดความเหลื่อมล้ำทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
(2) การพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ
(3) การสร้างสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตในสังคมสูงวัย
(4) การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน
(5) การพัฒนาการสื่อสารมวลชนให้เป็นกลไกในการสนับสนุนการพัฒนา
5. ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
(1) การจัดระบบอนุรักษ์ ฟื้นฟูและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ
(2) การวางระบบบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพทั้ง 25 ลุ่มน้ำ เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ
(3) การพัฒนาและใช้พลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(4) การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
(5) การร่วมลดปัญหาโลกร้อนและปรับตัวให้พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
(6) การใช้เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์และนโยบายการคลังเพื่อสิ่งแวดล้อม
6.ยุทธศาสตร์ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบ
(1) การปรับปรุงการบริหารจัดการรายได้และรายจ่ายของภาครัฐ
(2) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนของหน่วยงานภาครัฐ
(3) การปรับปรุงบทบาท ภารกิจ และโครงสร้างของหน่วยงานภาครัฐ ให้มีขนาดที่เหมาะสม
(4) การวางระบบบริหารราชการแบบบูรณาการ
(5) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนและพัฒนาบุคลากรภาครัฐในการปฏิบัติราชการ
(6) การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ
(7) การปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับให้มีความชัดเจน ทันสมัย เป็นธรรม และสอดคล้องกับข้อบังคับสากลหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ตลอดจนพัฒนาหน่วยงานภาครัฐและบุคลากรที่มีหน้าที่เสนอความเห็นทางกฎหมายให้มีศักยภาพ
1.2 แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564)
หลักการของแผนพัฒนาฯฉบับที่ 12
1. ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” อย่างต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฉบับที่ 9-11
2. คนไทยให้เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน มีทักษะในการคิดเชิงสังเคราะห์ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความเคารพในความแตกต่าง และมีจุดยืนทางจริยธรรมชุมชน ภาคประชาสังคมเอกชนและภาครัฐร่วมกันพัฒนาประเทศบนหลักการ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วม
รับผิดชอบ และร่วมรับผลประโยชน์จากการพัฒนา
3. มีการพัฒนาเชิงบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่ยึดพื้นที่เป็นหลัก
4. ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ให้เอื้อต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกระดับ
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การเสริมสร้างความมั่นคงแห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการในภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบและธรรมาภิ
บาลในสังคมไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์
ยุทธศาสตร์ที่ 8 การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาค เมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ
ยุทธศาสตร์ที่ 10 ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนา
1.3 แผนพัฒนาภาค/แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด/แผนพัฒนาจังหวัด
1.3.1 แผนพัฒนาภาค
แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
แผนพัฒนาภาค เป็นแผนที่ที่ยึดกระบวนการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจากทุกจังหวัดทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น เพื่อสนับสนุนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สามารถ ใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาภาค จัดทำโดยสำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่สมดุล ยึดแนวคิดการพัฒนาตาม “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” โดยประกอบไปด้วย ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคเหนือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคกลาง ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคใต้ ซึ่งองค์การบริหารส่วนตำบลวังโพธิ์นั้นตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลมีความสัมพันธ์กับแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเกษตร การท่องเที่ยว การค้าการลงทุน การพัฒนาคนให้มีสุขภาวะดีทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา รอบรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ สร้างความมั่นคงด้านอาหาร แก้ไขปัญหาความยากจน หนี้สิน และการออมของครัวเรือน มีสัมมาอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองและดูแลครอบครัวได้อย่างอบอุ่น ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์ ซึ่งแผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีรายละเอียดสรุปย่อ ดังนี้
กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาค
ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2550 มาตรา 53/1 และมาตรา 53/2 บัญญัติให้จังหวัดและกลุ่มจังหวัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัดให้สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และตอบสนองความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) จึงได้จัดทำกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคที่ยึดกระบวนการมี ส่วนร่วมของทุกภาคส่วนจากทุกจังหวัดทั้ง 4 ภูมิภาคขึ้น เพื่อสนับสนุนจังหวัดและกลุ่มจังหวัดให้สามารถใช้เป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
(1) เพิ่มศักยภาพการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ โดยการยกมาตรฐานและประสิทธิภาพการผลิตการเกษตร การพัฒนาศักยภาพการประกอบการด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมบริการและการท่องเที่ยว การตั้งองค์กรร่วมภาครัฐและเอกชนระดับพื้นที่เพื่อส่งเสริมอำนวยความสะดวกด้านการค้าการลงทุน และส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
(2) สร้างคนให้มีคุณภาพ เพื่อพัฒนาคนให้มีสุขภาวะดีทั้งร่างกาย จิตใจและสติปัญญา รอบรู้ เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสามารถดำรงชีพได้อย่างมีคุณภาพ
(3) สร้างสังคมและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง เพื่อสร้างความมั่นคงด้านอาหาร แก้ไขปัญหาความยากจน หนี้สิน และการออมของครัวเรือน มีสัมมาอาชีพที่มั่นคง สามารถพึ่งพาตนเองและดูแลครอบครัวได้อย่างอบอุ่น
(4) ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมบูรณ์ โดยเร่งอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ 15.9 ล้านไร่ หรือร้อยละ 25 ของพื้นที่ภาค ป้องกันการรุกพื้นที่ชุ่มน้ำ พัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทาน ฟื้นฟูดิน ยับยั้งการแพร่กระจายดินเค็ม และเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการโดยส่งเสริมทำเกษตรอินทรีย์
ทิศทางการพัฒนากลุ่มจังหวัดและจังหวัด
(1) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 ประกอบด้วยอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู และเลย) เน้นการฟื้นฟูระบบนิเวศน์เพื่อรักษาสมดุลธรรมชาติ การปรับโครงสร้างการผลิตด้านการเกษตรการส่งเสริมการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน
(2) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 2 ประกอบด้วย สกลนคร นครพนม และมุกดาหาร เน้นให้ความสำคัญกับความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าการเกษตร ส่งเสริมพื้นที่ชลประทาน การทำปศุสัตว์โดยเฉพาะโคเนื้อ
(3) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง ประกอบด้วย ขอนแก่น กาฬสินธุ์ มหาสารคาม และร้อยเอ็ด เน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองรองรับการเป็นศูนย์กลางการค้าบริการ และการลงทุนของภาค การใช้ประโยชน์พื้นที่ชลประทานให้เกิดประโยชน์สูงสุด การทำการเกษตรก้าวหน้า การเตรียมการรองรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Ethanol) ควบคู่กับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
(4) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ประกอบด้วย นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบชลประทานให้เต็มศักยภาพ การเตรียมการรองรับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (Ethanol) พัฒนาการท่องเที่ยวทั้งการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และอารยธรรมขอมด้วยการสร้างคุณค่าเพิ่ม และพัฒนาเส้นทาง
(5) กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ประกอบด้วย อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำ และระบบบริหารจัดการเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและขาดแคลนน้ำ การสร้างงานและรายได้จากการท่องเที่ยวให้มากขึ้น
1.3.2 แผนพัฒนากลุ่มจังหวัด
ยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (กลุ่มที่ 2)
ยโสธร ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ อุบลราชธานี
วิสัยทัศน์
“อุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปและเกษตรอินทรีย์เพิ่มมูลค่า การท่องเที่ยวเชิงคุณภาพ การค้าชายแดนได้มาตรฐานสากล”
เป้าประสงค์รวม
(1) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป และผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่า
(2) พัฒนาการท่องเที่ยวโดยยกระดับมูลค่าและคุณค่า เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน
(3) พัฒนาวิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ ผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าชายแดน
(4) ยกระดับคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน
(5) เพิ่มทักษะและความรู้ให้ประชาชน
(6) ทรัพยากรธรรมชาติได้รับการอนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีสภาพอุดมสมบูรณ์
(7) การพัฒนาและเสริมสร้างคนในทุกภาคส่วนให้มีความพร้อมและมีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหาด้านความมั่นคง
ตัวชี้วัดความสำเร็จตามเป้าหมายการพัฒนากลุ่มจังหวัด
(1) เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมกลุ่มจังหวัด ภาคการเกษตรเพิ่มขึ้นร้อยละ 3 ต่อปี
(2) มีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี เป้าหมาย 5 ปี รวมร้อยละ 23
(3) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการค้าชายแดน เป้าหมาย ร้อยละ 3.5 ต่อปี
(4) ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิต เป้าหมาย ร้อยละ 80 ต่อปี
(5) ร้อยละของแรงงานที่เข้ารับการพัฒนามีทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น ร้อยละ 60 ต่อปี
(6) ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของการใช้พลังงานทดแทน เป้าหมาย ร้อยละ 1 ต่อปี
(7) ร้อยละของทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับการพัฒนาและอนุรักษ์ฟื้นฟู ป้องกันและมีสภาพคงอยู่ อย่างยั่งยืน เป้าหมาย ร้อยละ 0.20 ต่อปี
(8) ร้อยละของจำนวนเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงลดลง เป้าหมาย ร้อยละ 0 ต่อปี
ประเด็นยุทธศาสตร์
กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 ได้กำหนดประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัดฯ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ดังนี้
1) ประเด็นการพัฒนาที่ 1 การส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว
2) ประเด็นการพัฒนาที่ 2 การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม
3) ประเด็นการพัฒนาที่ 3 การสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
4) ประเด็นการพัฒนาที่ 4 การเสริมสร้างความมั่นคง
1.3.3 แผนพัฒนาจังหวัดยโสธร พ.ศ.2561 – 2565
เมื่อพิจารณาจากยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นโยบายของรัฐบาล แผนรายสาขา/เฉพาะด้าน แผนพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (พ.ศ.2560 - 2564) และแผนพัฒนากลุ่มจังหวัด ข้อมูลการวิเคราะห์สถานการณ์โลกและสถานการณ์ประเทศข้อมูลประเด็นปัญหาและความต้องการเชิงพื้นที่ ข้อมูลการวิเคราะห์สภาวการณ์และศักยภาพของจังหวัดยโสธร ข้อมูลการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั่วไปของจังหวัดยโสธร และการใช้เทคนิค TOWS Matrix ในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดยโสธร พ.ศ.2561 – 2565 ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 โดยจังหวัดยโสธรได้ดำเนินการที่เป็นไปตามนโยบาย หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ฉบับทบทวน และหลักเกณฑ์และวิธีการจัดทำแผนปฏิบัติการราชการประจำปีของจังหวัดและกลุ่มจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 และระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยสามารถสรุปสาระสำคัญของแผนพัฒนาจังหวัดยโสธร ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563 ได้ดังนี้
วิสัยทัศน์จังหวัด
“ยโสธรเมืองเกษตรอินทรีย์ เมืองแห่งวิถีอีสาน”
จุดเน้นทางยุทธศาสตร์ (Positioning) จังหวัด
1) เมืองเกษตรอินทรีย์
2) เมืองท่องเที่ยว
3) เมืองวิถีอีสาน
เป้าหมายการพัฒนาจังหวัด
1) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัด (GPP) เพิ่มขึ้น
2) ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีเพิ่มขึ้น
ประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด
1) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1 : ส่งเสริมการเกษตรอินทรีย์ครบวงจรและได้มาตรฐาน
2) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 : ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และการค้า การท่องเที่ยว
3) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3 : ยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงของครอบครัว ชุมชนและสังคม
4) ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 4 : อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดยโสธร
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธรได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานและประสานแผนระดับจังหวัดโดยได้จัดประชุมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัด และได้วางยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาร่วมกันดังต่อไปนี้
วิสัยทัศน์
“องค์การบริหารส่วนจังหวัดยโสธร พัฒนา บูรณาการ เสริมสร้างความสุข”
ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดยโสธร
ยุทธศาสตร์การพัฒนา |
แนวทางการพัฒนา |
1. ส่งเสริมภาคการเกษตร การพัฒนาแหล่งน้ำและโครงสร้างพื้นฐาน ให้ได้มาตรฐาน | 1.1 การเกษตรและแหล่งน้ำ 1.2 โครงสร้างพื้นฐานและการคมนาคม |
2. ส่งเสริมคุณภาพชีวิต วัฒนธรรมประเพณีการค้าและการท่องเที่ยว | 2.1 การพัฒนาคุณภาพชีวิตและความปลอดภัย 2.2 วัฒนธรรม ประเพณี และการท่องเที่ยว |
3. การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษา สู่ความเป็นเลิศ | 3.1 พัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพ 3.2 พัฒนาและส่งเสริมการจัดการศึกษา |
4. การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน | 4.1 การอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ 4.2 การจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงาน |
2. ยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลคูเมือง
2.1 วิสัยทัศน์
“สังคมคุณธรรม นำความรอบรู้ อยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน บริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาล รู้เท่าทันโลก ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง การคมนาคมสะดวก เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชุมชน พัฒนาคนให้มีคุณภาพ ทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน”
2.2 ยุทธศาสตร์
คณะกรรมการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลร่วมกับประชาคมท้องถิ่น ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ รวมทั้งองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้กำหนดยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบล 4 ด้าน ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมอยู่เย็นเป็นสุข
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์การพัฒนาส่งเสริมคุณภาพชีวิต
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2.3 เป้าประสงค์
- ตำบลคูเมืองมีความเจริญก้าวหน้าในโครงสร้างพื้นฐาน
- ประชาชนมีคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากดีขึ้น
- ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตทรัพย์สินอยู่เย็นเป็นสุขเพิ่มขึ้น
- ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว
- ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูเพิ่มขึ้น
- การพัฒนาการศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
- พัฒนาการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
- ส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาประชาธิปไตยและกระบวนการประชาสังคมในระดับชุมชน/ตำบล
2.4 ตัวชี้วัด/ค่าเป้าหมาย
- มีการดำเนินการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ร้อยละ 13.08
- ร้อยละที่เพิ่มขึ้นของมูลค่าการจำหน่ายสินค้าเกษตรอินทรีย์ (ร้อยละ 2.5/ปี)
- ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ร้อยละ 95
- เข้าใจแผนการส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรมและการท่องเที่ยว ร้อยละ 40
- จำนวนพื้นที่สาธารณประโยชน์มีพื้นที่ป่าไม้และการปกป้องบำรุงรักษาและปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูสภาพป่า (500 ไร่/ปี)
- การดำเนินการในด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม จารีต ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้อยละ 70
- การพัฒนาการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 80
- การส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาประชาธ
วันที่ : 18 พฤศจิกายน 2562 View : 945