องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง

Khumuang Subdistrict Administrative Organization

ข้อมูลทั่วไป


ออนไลน์ : 14

หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไป
สภาพทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง
 
1.  ลักษณะทางภูมิศาสตร์และเขตการปกครอง
     1.1  ที่ตั้งตำบลคูเมืองอยู่ห่างจากอำเภอมหาชนะชัย ระยะทาง 4 กิโลเมตร 
     1.2  อาณาเขต    ตำบลคูเมืองมีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง   ดังนี้
          - ทิศเหนือ    ติดต่อกับตำบลหัวเมืองและตำบลพระเสาร์ อำเภอมหาชนะชัย
          - ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลผือฮี  และตำบลฟ้าหยาด   อำเภอมหาชนะชัย
          - ทิศใต้  ติดต่อกับตำบลสงยาง อำเภอมหาชนะชัยและตำบลดู่ อำเภอราษีไศล     
          - ทิศตะวันตก  ติดกับตำบลโจดม่วง และตำบลคลีกลิ้ง  อำเภอราษีไศล       
     1.3 ขนาดพื้นที่ ตำบลคูเมืองมีเนื้อที่ประมาณ   59   ตารางกิโลเมตร   
     1.4 ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มมีพื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ สภาพดินเป็นดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย  ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดเล็กน้อย  (pH 5.0-6.5)เนื้อดินล่างเป็นดินร่วนปนทรายถึงดินร่วนเหนียวปนทรายปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงปานกลาง
     1.5  ลักษณะภูมิอากาศตำบลคูเมือง มี  3  ฤดู  คือ   ฤดูร้อน   ฤดูฝน    ฤดูหนาว   
ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ย 71.1 %    อุณหภูมิสูงสุด    41.1  องศาเซลเซียส  อุณหภูมิต่ำสุด 12.2  องศาเซลเซียส       ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย  1,500 มม./ ปี

2. การเมืองการปกครองและประชากร
     2.1   เขตการปกครอง  ตำบลคูเมืองแบ่งเขตการปกครอง  ประกอบด้วยหมู่บ้าน   12  หมู่บ้าน   จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง   12  หมู่บ้าน  ดังนี้
     หมู่ที่  1  บ้านคูเมือง   
     หมู่ที่  2  บ้านคุ้ม                
     หมู่ที่  3  บ้านพลไว  
     หมู่ที่  4  บ้านสำโรง                
     หมู่ที่  5  บ้านขาม   
     หมู่ที่  6 บ้านคุ้ม                              
     หมู่ที่  7  บ้านสำโรง
     หมู่ที่  8   บ้านพลไว
     หมู่ที่  9   บ้านคุ้ม
     หมู่ที่ 10  บ้านสำโรง
     หมู่ที่  11 บ้านคูเมือง
     หมู่ที่ 12  บ้านขาม

     2.2   จำนวนประชากรทั้งสิ้น  6,788  คน    แยกเป็น   ชาย 3,433     คน    หญิง  3,355  คน  มีความหนาแน่นเฉลี่ย  115   คน/ตาราง     กิโลเมตร      มีจำนวนครัวเรือน  1,563   หลังคาเรือน    ครัวเรือนที่ประกอบอาชีพเกษตรกร    1,531   ครัวเรือน   
     2.3   การเมืองการปกครองระดับต่างๆ    
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล    จำนวน     24    คน กำนัน       จำนวน       1  คน ผู้ใหญ่บ้าน จำนวน     11 คน
3.สภาพทางเศรษฐกิจ
     3.1 รายได้เฉลี่ยต่อหัว ในปี 2555   ซึ่งเป็นข้อมูลล่าสุด ประชาชนในตำบลคูเมืองมีรายได้เฉลี่ยผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) รายได้เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า   23,000    บาท ต่อคนต่อปี
     3.2 ข้อมูลด้านการเกษตรที่สำคัญของตำบล
          3.2.1  พื้นที่เกษตรกรรม  มีเนื้อที่ประมาณ  27,749  ไร่แยกเป็น
          -  นาข้าว  มีเนื้อที่ประมาณ 25,225 ไร่
          -  มันสำปะหลังมีเนื้อที่ประมาณ    450    ไร่
          -  ยูคาลิปตัสมีเนื้อที่ประมาณ    2,491   ไร่
          3.2.2  ผลผลิตด้านการปศุสัตว์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง ได้แก่ 
          -  สุกร
          -  โค-กระบือ
          -  ไก่ - เป็ด
          *  การปศุสัตว์ส่วนใหญ่เลี้ยงเป็นอาชีพเสริมในครัวเรือน  
     3.3 อุตสาหกรรมในตำบล
ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง  เป็นอุตสาหกรรมขนาดเล็ก  เช่น (โรงสีข้าว) (โรงน้ำแข็ง) และมีอุตสาหกรรมรับช่วงการผลิต เช่น อุตสาหกรรมตัดเย็บกระเป๋าหรือเสื้อผ้า อุตสาหกรรมเย็บถุงมือหนัง และอุตสาหกรรมแปรรูปหนังสัตว์
4. สภาพทางสังคม
     4.1 ด้านการศึกษา
     - โรงเรียนประถมศึกษา 5 แห่ง
     - โรงเรียนมัธยมศึกษา 2 แห่ง (ร.ร. ขยายโอกาส)
     - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5 แห่ง
     - ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน    5 แห่ง
     - ศูนย์ข้อมูลข่าวสารและบริการอินเตอร์เน็ตตำบล อบต.คูเมือง  1    แห่ง
     4.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
     - วัด 5 แห่ง
     - สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
     4.3 การสาธารณสุข
     - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล  2   แห่ง
     - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ 100
     4.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
     - ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยภัย  จำนวน 1 แห่ง
     - อาสาสมัคร อปพร.จำนวน  126 นาย
     -  รถพยาบาลกู้ชีพ  (EMS) จำนวน  1  คัน
5. การบริการพื้นฐาน
     5.1 การคมนาคมสภาพทางคมนาคม
     - ถนนระหว่างหมู่บ้านส่วนมากเป็นถนนลาดยาง 
     - ถนนภายในหมู่บ้านเป็นถนนลาดยาง,คอนกรีต,หินคลุก,ถนนดิน และลูกรัง
     - ถนนลงสู่พื้นที่การเกษตรส่วนมากเป็นถนนลูกรัง ถนนหินคลุก และถนนดิน
     5.2 การสื่อสารโทรคมนาคม ใช้โทรศัพท์สาธารณะ และโทรศัพท์มือถือ และ อินเตอร์เน็ต ( Internet )
     5.3 การไฟฟ้า มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้านและประชากรมีไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน
     5.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
     - ลำน้ำ,ลำห้วย 1 สาย
     - บึง,หนองและอื่น ๆ 28 แห่ง
     5.5 การประปาระบบประปาหมู่บ้าน    6 แห่ง
6. ข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญอื่น ๆ
     6.1 จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
     - ตำบลคูเมืองอยู่ในเขตพื้นที่ทุ่งกุลามีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบเหมาะแก่การทำการเกษตร  เช่น ปลูกข้าวหอมมะลิ และทำนาปัง   หากมีการส่งเสริม ก็จะสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นจำนวนมาก หากได้รับการปรับปรุงพัฒนาก็จะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านการเกษตรได้เป็นอย่างดี 
     - การประกอบอาชีพ อาชีพหลักของชาวตำบลคูเมืองคือ การทำนา เลี้ยงสัตว์ ทำไร่ ควรมีการส่งเสริมอาชีพแก่กลุ่มต่าง ๆ ในหมู่บ้าน เพื่อเป็นอาชีพเสริม   จะเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่ราษฎร เนื่องจากประชาชนในพื้นที่บางส่วนยังมีรายได้น้อย   มีการเคลื่อนย้ายแรงงานสู่เมืองใหญ่หลังช่วงฤดูเก็บเกี่ยว หากได้รับการส่งเสริมสนับสนุนด้านการประกอบอาชีพและสร้างรายได้แก่ราษฎรก็จะสามารถลดอัตราการเคลื่อนย้ายแรงงานจากชนบทสู่เมืองใหญ่ได้ 
วันที่ : 26 มกราคม 2560   View : 2150