องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง

Khumuang Subdistrict Administrative Organization

งานปริวาสกรรมวัดป่าบ้านคุ้ม


ออนไลน์ : 4

Gallery :: งานปริวาสกรรมวัดป่าบ้านคุ้ม
ประวัติพระครูบวรธรรมานุวัตร
(ครูบาวัน  ธมฺมิโก)
พระครูบวรธรรมนุวัตร เดิมชื่อ วัน นามสกุล สังฆพันธ์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖ ตรงกับวันแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่ เป็นบุตรของ นายทองดี  สังฆพันธ์  นางหนา  (นามสกุลเดิม พุธพันธ์)  มีพี่น้องร่วมบิดมารดาเดียวกัน ๔ คน คือ
          ๑. เป็นหญิง                           (เสียชีวิตแล้วตั้งแต่เป็นเด็ก)
          ๒. พระครูบวรธรรมานุวัตร          (วัน  ธมฺมิโก)
          ๓. นายหนู  สังฆพันธ์                (เสียชีวิตแล้ว)
          ๔. นายทอง  สังฆพันธ์               (เสียชีวิตแล้ว)
                                         พ่อทองดี เดิมเป็นคนบ้านตากแดด (ศิริ พัฒนา) ส่วนแม่หนาเป็นคนบ้านตัว                               อำเภอค้อวัง หลังจากพ่อทองดี และแม่ หนา แต่งงานกันแล้วย้ายมาทำมาหากิน ที่                        กรุงเทพ ได้ให้กำเนิดเด็กชายวันที่กรุง เทพนั้นเอง เมื่ออายุได้ประมาณ ๑๐ ขวบ บิดา                     ได้ย้าย ครอบครัวมาอยู่ที่บ้านคุ้ม (ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๖) เข้าเรียนหนังสือ ที่                                         โรงเรียนบ้านคุ้ม เมื่ออายุ ๑๑ ปี โดยมี อาจารย์ศรีทัต เป็นครูใหญ่ อาจารย์ทอน
                               เป็นครูประจำชั้น ในสมัยนั้นโรงเรียนบ้านคุ้ม ถือว่าเป็นศูนย์กลางของตำบล จึงมีเด็กในเขต ตำบลมาเรียนร่วมกันเป็นจํานวนมาก
เรียนหนังสือ
          เมื่อเรียนถึงชั้น ป. ๒ ก็ต้องหยุดเรียนหนังสือ (ในปีนั้น มีนักเรียนออกจากการเรียน หนังสือพร้อมกับเด็กชายวันมากพอสมควร) เนื่องจากเป็นบุตรคนโต และพอจะช่วยพ่อแม่ ทำงานได้แล้วประกอบกับในปีนั้น มีการเปลี่ยนแปลงระบบการศึกษาเป็นภาคบังคับมีการ กำหนดเกณฑ์อายุเด็กนักเรียน
อาชีพนายฮ้อยหมู
          เมื่อออกจากโรงเรียนแล้ว ก็มาช่วยพ่อแม่ทำมาค้าขายเครื่องจักสาน เป็น จำพวก กระบุง ตะกร้า และอื่น ๆ ซึ่งส่วนมากเป็นของหัตถกรรมพื้นบ้านอีสาน โดยทำหน้าที่ เป็นพ่อค้าคนกลาง รับของไปขายตามหมู่บ้านต่างๆ เมื่อทำมาค้าขายเครื่องจักรสานแล้ว ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร จึงเปลี่ยนอาชีพมาเป็นพ่อค้าหมู ไล่ต้อนหมูไปขายตาม หมู่บ้านต่างๆ ค้าขายเร่ร่อนเรื่อยไปในเขตภาคอิสาน ร่วมกับพ่อค้าหมูเป็นจำนวนมาก ไปค้าขายกันเป็นหมู่คณะ (เรียกว่า นายฮ้อยหมู) ไล่ต้อนหมูของใครของมัน หมูของนาย วันมีประมาณ ๒๐ ตัว
หมดตัวเพราะโจรสุรินทร์
          เมื่อไล่ต้อนหมูเร่ขายไปถึงจังหวัดสุรินทร์ นายวันก็ต้องพบกับความล้มเหลวกับ อาชีพพ่อค้าหมูอีกครั้ง เพราะมีโจรเขมรกลุ่มหนึ่ง ได้ขโมยหม้อทองเหลืองสำหรับ หุงหาอาหาร (เป็นหม้อที่นายวันยืมเขามาใช้) และได้ขโมยหมูของนายวันเกือบหมด เป็น เหตุให้นายวันเลิกล้มอาชีพพ่อค้าหมู ซึ่งเป็นอาชีพที่ต้องทำลายสัตว์อื่นเบียดเบียนสัตว์อื่น
เข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์
          เมื่ออายุ ๒๑ ปี หลังจากผ่านเกณฑ์การคัดเลือกทหารแล้ว ก็เลยตัดสินใจเข้าสู่ร่มกาสาวพัตร์ตามความประสงค์ของบิดามารดา (ไม่ติดทหารเกณฑ์ โดยมีย่าม รับเป็น เจ้าภาพแทนบิดามารดาในการอุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ตรงกับ วันอังคาร แรม ๑๐ ค่ำ เดือน 5 โดยมีพระอุปัชฌาย์ผา ปญฺญาธโร (บ้านขาม) เป็นพระ อุปัชฌาย์ พระครูจันทรคุณมุนี (บ้านหัวเมือง) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการจันทา โสวโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ปฏิบัติหน้าที่ของนักพัฒนาและพระกรรมฐาน
          หลังจากอุปสมบทแล้ว ก็จำพรรษาที่วัด บ้านคุ้ม เป็นเวลา ๕ พรรษา หลังจากนั้น ก็ย้าย ไปจำพรรษาที่วัดบ้านสำโรง ครั้ง แรก ๔ พรรษา ได้สร้างกุฏิไม้ยงไม้แคน ทั้งหลังจำนวน ๑ หลัง และได้สร้างศาลา ไม้ ๑ หลัง โดยการนำของกำนันมนูญ และชาวบ้านเป็นกำลังสำคัญในการช่วย เลื่อยไม้และก่อสร้าง (ปัจจุบันศาลาไม้ที่ สร้างยังคงปรากฏอยู่) และได้ย้ายกลับ มาจำพรรษาที่วัดบ้านคุ้มตามเดิม ได้ สร้างกุฏิไม้ ๓ หลัง ศาลาไม้หลังใหญ่ หลัง (ปัจจุบัน รื้อสร้างใหม่แล้ว) เสร็จ แล้ว ได้ย้ายกลับไปจำพรรษา ที่วัดบ้าน สำโรงอีกครั้งที่ ๒ เป็นเวลา ๒ พรรษา และย้ายกลับมาจำพรรษาที่วัดบ้านคุ้ม ตามเดิม ในการย้ายกลับมาจําพรรษที่วัดบ้านคุ้มครั้งนี้เอง ครูบาวัน ก็ได้เข้าไปอยู่อาศัย โดยเดินทางกลับไปมา และปฏิบัติพระกรรมฐานในบริเวณป่าช้าบ้านคุ้มและบ้านพลไว ระหว่างวัดบ้านกับป่าช้าเป็นระยะติดต่อกันนานหลายปี


วันที่ : 2 กุมภาพันธ์ 2566   View : 762
Facebook Chat