องค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง

Khumuang Subdistrict Administrative Organization

ขี้ไต้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น


ออนไลน์ : 11

หัวข้อ :: ขี้ไต้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น

นางเพี้ยง ประสานสืบ อายุ ๖๖ ปี อยู่บ้านเลขที่ ๗๔ หมู่ที่ ๖ บ้านคุ้ม ตำบลคูเมือง อำเภอมหาชะชัย จังหวัดยโสธร ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการสืบทอดการทำขี้กะบองหรือขี้ไต้ มาตั้งแต่เด็กโดยสืบทอดจากบิดามารดา ทำขี้กะบองจำหน่ายทั้งปลีกและส่งจนถึงปัจจุบัน แต่ละวันทำได้มากกว่า ๑๐๐ ชิ้น บรรจุถึง ได้ประมาณ ๓๐๐ ถุงต่อวัน นางเพี้ยง ประสานสืบ ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่บรรดาลูกหลานญาติมิตร ให้รู้จักการทำขี้กะบอง หรือขี้ไต้ มาจนถึงปัจจุบัน

การทำขี้กะบอง
ขี่กระบองเป็นภูมิปัญญาอีสานมานานแล้ว วิธีหาและวิธีทำขี่กระบอกหรือน้ำมันยาง (ต้นยางนา) ต้นสะแบง แต่ต้นไม้สะแบง ลักษณะคล้ายต้นยาง แต่ใบจะเป็นขน ดอกสี่แดงอมขาว บางต้นแดงมากกว่าขาว บางต้นขาวมากกว่าแดง ผลสะแบงจะเล็กกว่า และผลจะมีรอยหยักๆ เริ่มการหาน้ำมันยางต้องหาต้นไม้ประมาณสองคนโอบ เพราะน้ำมันยางจะมีมาก เสร็จแล้วให้ใช้ขวานฟันลึกเข้าไปในต้น ใช้เสียมคมๆ เจาะอีครั้ง ทำให้เป็นโพรงด้านใน เมื่อทำโพรงจนเป็นที่พอใจแล้วก็จุดไฟเผาให้ไหม้จนเกิดควันดำ ประมาณ ๕ นาที คนโบราณจะใช้การกินหมากรอ คือระยะเวลาเตรียมกินหมากสีเสียด ใบพลูปูน แก่นคูณ ยาเส้นพอหมากเข้าปากแล้ว ก็จะลุกไปดับไฟที่จุดไว้ก็ประมาณ 5 นาที นั้นแหละที่จุดไฟนั้น เพื่อจะให้น้ำมันยางไหลดี ที่ทำเช่นนี้เป็นภูมิปัญญาโดยแท้ การทำเป็นโพรงเป็นการป้องกันน้ำฝนเข้าไปผสมกับน้ำมันยางจะทำให้น้ำมันยางไม่ดี จุดไฟติดยาก และเวลาเก็บน้ำมันยางจะเก็บง่ายเพราะเวลาเก็บน้ำมันจะใช้กะลาตักน้ำมันยาง คุณสมบัติน้ำมันยางนอกจากใช้จุดไฟแทนน้ำมันแล้วยังใช้ผสมกับขันทาตระกล้าไม่ให้น้ำซึมออก อีสานเรียกของใช้นี้ว่า..."คุ" หรือ กะคุ น้ำมันยางที่หามาได้ใช้ก็หมดไว คนอีสานจึงคิดหาวิธีการใหม่ๆมาใช้ คือ นำน้ำมันมาผสมกับไม้ผุ อันไม้ผุๆนี่ต้องหาไม่ที่ไม่มีควันถึงจะดีไม่ใช่เอามาผสมส่งเดชแม่เคยบอกว่าถ้าได้ไม้เหมือบแอ่จะดีมากๆ เพราะจะทำให้ขี่ไต้..หรือ ขี่กระบองไม่มีควันมาก เมื่อผสมกับไม้ผุๆแล้วก็นำขี่กระบอกหรือขี่ไต้ที่ได้นี่ไปหมัดให้เป็นแท่งๆ เหมือนแหนม ประมาณเท่าแขน โดยให้ใบตองกุงลองมัดด้วยตอกไม้ไผ่ แค่นี้ก็เสร็จแล้ว

วันที่ : 8 มิถุนายน 2565   View : 473